KM คือ อะไร
การจัดการความรู้
(Knowledge Management หรือ KM)
นิยามของการจัดการความรู้ อ้างอิงตามบทความ "การจัดการความรู้คืออะไร" ในเว็บไซต์สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส) เขียนโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช มีดังต่อไปนี้
"การ จัดการความรู้ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า KM คือ เครื่องมือเพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
ดังนั้นการจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิดเอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมายความผิดพลาด ก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้เท่านั้นเอง"
(Knowledge Management หรือ KM)
นิยามของการจัดการความรู้ อ้างอิงตามบทความ "การจัดการความรู้คืออะไร" ในเว็บไซต์สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส) เขียนโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช มีดังต่อไปนี้
"การ จัดการความรู้ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า KM คือ เครื่องมือเพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
ดังนั้นการจัดการความรู้จึงไม่ใช่เป้าหมายในตัวของมันเอง เมื่อไรก็ตามที่มีการเข้าใจผิดเอาการจัดการความรู้เป็นเป้าหมายความผิดพลาด ก็เริ่มเดินเข้ามา อันตรายที่จะเกิดตามมาคือ การจัดการความรู้เทียม หรือปลอม เป็นการดำเนินการเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้เท่านั้นเอง"
ประเภทของความรู้
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช เขียนไว้ว่า "ความรู้ คือ สิ่งที่เรานำมาใช้งานได้ ให้งานสำเร็จได้ แก้ปัญหาได้ ใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวันได้" (วิจารณ์ พานิช,2552) และได้แบ่งความรู้ออกเป็น 2 ประเภท
1. ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสารหรือวิชาการที่มีอยู่ในตำรา หรือคู่มือปฏิบัติงาน
2. ความรู้ซ่อนเร้น/ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นภูมิปัญญา
1. ความรู้เด่นชัด (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสารหรือวิชาการที่มีอยู่ในตำรา หรือคู่มือปฏิบัติงาน
2. ความรู้ซ่อนเร้น/ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน เป็นภูมิปัญญา
การจัดการ "ความรู้เด่นชัด"
การจัดการความรู้เด่นชัดจะเน้นไปที่การเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบ และตีความได้ เมื่อนำไปใช้แล้วเกิดความรู้ใหม่ ก็นำมาสรุปไว้ เพื่อใช้อ้างอิง หรือให้ผู้อื่นเข้าถึงได้ต่อไป (ดูวงจรทางซ้าย จากภาพประกอบที่ 1)
การจัดการ "ความรู้ซ่อนเร้น/ความรู้ฝังลึก"
การจัดการความรู้ซ่อนเร้น/ความรู้ฝังลึกนั้นจะเน้นไปที่การจัดเวที เพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ที่มีอยู่ในตัวผู้ปฏิบัติ ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน นำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ ที่แต่ละคนสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ต่อไป (ดูวงจรทางขวา จากภาพประกอบที่ 1)
การจัดการความรู้เด่นชัดจะเน้นไปที่การเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบ และตีความได้ เมื่อนำไปใช้แล้วเกิดความรู้ใหม่ ก็นำมาสรุปไว้ เพื่อใช้อ้างอิง หรือให้ผู้อื่นเข้าถึงได้ต่อไป (ดูวงจรทางซ้าย จากภาพประกอบที่ 1)
การจัดการ "ความรู้ซ่อนเร้น/ความรู้ฝังลึก"
การจัดการความรู้ซ่อนเร้น/ความรู้ฝังลึกนั้นจะเน้นไปที่การจัดเวที เพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ที่มีอยู่ในตัวผู้ปฏิบัติ ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน นำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ ที่แต่ละคนสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ต่อไป (ดูวงจรทางขวา จากภาพประกอบที่ 1)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น